การเคลื่อนที่
การที่วัตถุย้ายตำแหน่งจากที่เดิมไปอยู่ที่ตำแหน่งใหม่
ปริมาณที่ใช้บอกขนาดของการเคลื่อนที่ของวัตถุ คือ ระยะทางและการกระจัด
การแบ่งประเภทตามชนิดของปริมาณ
1. Scalar เป็นปริมาณที่บอกแต่ขนาดเท่านั้น
-ระยะทาง (S) ระยะทางทั้งหมดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ (เมตร)
-อัตราเร็ว (V)ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ต่อหนึ่งหน่วยเวลา (เมตร/วินาที)
-อัตรเร่ง (a)อัตราการเปลี่ยนแปลงอัตรเร็ว (เมตร/วินาที2)
2. Vector เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง
-ระยะกระจัด (S)ระยะทางที่สั้นที่สุดจากจุดแรกถึงจุดสุดท้าย (เมตร)
-ความเร็ว (V)ระยะกระจัดที่เคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา (เมตร/วินาที)
-ความเร่ง(a)อัตรการเปลี่ยนแปลงความเร็ว (เมตร/วินาที2)
ความสัมพันธ์ของกราฟทั้ง 3 ประเภทของการเคลื่อนที่แนวตรง
-เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่หรืออัตราเร็วคงที่ (ความเร่งหรืออัตราเร่งเป็น0)
-เคลื่อนที่แบบมีความเร่งคงที่ มีทั้งหมด 5 สูตรคือ
1. v = u + at
ที่มา
ความเร่งเฉลี่ย = (ความเร็วปลาย-ความเร็วต้น)/ช่วงเวลา a=(v-u)/t-0
a = (v - u) / t
v = u + at
2. s = ( u+v ) / 2 x t
ที่มา ระยะกระจัด = ความเร็วเฉลี่ย x เวลา
= (ความเร็วต้น+ความเร็วปลาย)/2 x ts = (u+v)/2xt
3. s = ut + at^2/2
ที่มาเอา v จาก 1 มาแทนใน 2
s = [ u+ ( u+at ) ] / 2 x t
s = ( 2u + at ) x t /2
s = ( 2ut / 2 ) + (at^2/2)
s = ut + at^2/2
4. v^2 = u^2 + 2as
ที่มา จาก l จะได้ว่า t = (v - u) / a
นำค่า t นี้ไปแทนใน 2 ได้
s = [ (u + v) / 2 ] [(v - u) / a]
s = (v^2 - u^2) / 2a
v^2 = u^2 + 2as
5. s = vt - at^2/2
Note: วัตถุกลับมาที่เดิม หมายถึง ระยะกระจัด = 0
ความเร็วลดลง อาจเรียกความเร่งว่าเป็นความหน่วงได้
เครื่องเคาะสัญญาณเวลาจะเคาะด้วยความถี่ 50 ครั้งต่อวินาที
หมายความว่า ใน 1 วินาทีเครื่องเคาะ จะเคาะ 50 ครั้ง
เวลาต่อ 1 ช่วงจุดคือ 1/50 วินาที
t ต่อ n ช่วงจุด = n/50 วินาที
- การหาระยะจุดบนแถบกระดาษ ได้จากการวัด
- การหา v เฉลี่ย
จากตัวอย่างแถบกระดาษ
- การหา v ขณะใดๆ
จากตัวอย่างแถบกระดาษ
Note:
ระยะห่างระหว่าจุดเท่ากัน แสดงว่า ความเร็วคงที่
ระยะห่างระหว่างจุดมากไปน้อย แสดงว่า ความเร็วลดลง
ระยะห่างระหว่างจุดน้อยไปมาก แสดงว่า ความเร็วเพิ่มขึ้น
- การหา a เฉลี่ย
- การหา a ขณะใดๆ
จากตัวอย่างแถบกระดาษ ถ้าต้องการหา a ที่จุดB
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น